Tuesday, October 05, 2010

The Kingdom of Bhutan

ขอใช้ชื่อหัวข้อเป็นภาษาอังกฤษก็แล้วกัน เพราะเกิดความสับสน"ชื่อ"ของประเทศนี้ จำได้ว่าเคยเรียกว่า "ประเทศภูฐาน" แล้วตอนนี้เห็นเขียนกันมากว่า "ประเทศภูฏาน" (อ่านว่า พู-ตาน) ลองฟังเสียงที่เว็บวิกิพีเดีย wikipedia

หูที่ด้อยประสิทธิภาพของดิฉัน ได้ยินว่า "บู-ดาน" ใครช่วยเข้าไปฟังหน่อย ได้ยินว่ายังงัย วานบอกด้วย
คือว่าดิฉันพึ่งทำการบ้าน(ข้อสอบย่อย)เสร็จเลยให้รางวัลกับชีวิตโดยมาอัปเดทบล็อก สงสัยว่าข้อสอบที่ว่าเขาถามอะไร ถึงได้มาต่อติดกับหัวข้อบล็อก "The Kingdom of Bhutan" คำถามมีว่า "Explain the main difference between Thomas Hobbes’ and John Locke’s idea of individual freedom and the state."จริงๆ ก็ไม่เกี่ยว แต่ถ้าจะให้เกี่ยวก็ได้อันนี้ให้ผู้อ่านคิดเอาเองก็แล้วกัน ไม่เกี่ยว ไม่เกี่ยวยังไง เกี่ยว เกี่ยวยังไง เอาไปทำเป็นข้อสอบย่อยบ้างก็จะดี ถ้ามีเวลาว่างและอยากใช้หมองตั้งมาธิ...

เวลาตอนนี้ณ.ประเทศนอร์เวย์เลยเที่ยงคืนมาแล้วอาจจะงงและง่วงบ้างแต่ตั้งใจทำ ขอทำให้เสร็จลุล่วง ไม่ยาก ๆ เพราะต่อไปนี้เป็นการคัดลอก
1.พิธีแต่งงานของประเทศภูฏาน(ได้รับฟอร์เวิลด์จากเพื่อน Arts18) ได้ลองค้นหาต้นฉบับเรื่องนี้เจอที่เว็บนี้ fringer.org

แต่ผู้เขียนเขาเริ่มหัวข้อว่า "เรื่องเสรีภาพทางเพศของคนภูฏานนั้นมีประเด็นที่น่าสนใจอีกมาก" หากสนใจเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับประเทศนี้ก็อ่านในเว็บนี้ได้ค่ะ
"กฎหมายของภูฏานไม่มีข้อจำกัดเรื่องผัวเดียวเมียเดียว ผู้ชายจะมีภรรยากี่คนก็ได้ แต่ผู้หญิงจะมีสามีกี่คนก็ได้เช่นกัน ก็นับว่ายุติธรรมดีมากๆ ผู้ชายภูฏานนิยมมีภรรยาสองคน แต่งคนแรกตอนอายุ 25 ปี คนที่สองตอนอายุประมาณ 40 แน่นอน เจ้าสาวโดยมากเป็นสาวรุ่นแรกแย้ม อายุระหว่าง 18-25ทั้งคู่ ผู้หญิงภูฏานส่วนใหญ่มีสามีคนเดียวยกเว้นในครอบครัวที่เลี้ยงจามรีเป็นอาชีพหลัก ผู้หญิงนิยมมีสามีสามคน คนแรกมีหน้าที่เลี้ยงฝูงจามรีในฤดูร้อนบนภูเขา (จามรีเป็นสัตว์เมืองหนาว จึงต้องอาศัยอยู่บนภูเขาสูงที่มีอุณหภูมิต่ำ เพื่อหนีร้อนจากข้างล่าง)พอถึงฤดูหนาวก็ต้อนจามรีลงมาจากเขาให้สามีคนที่สองเลี้ยง (เพราะอากาศในฤดูนี้หนาวเกินกว่าที่จามรีจะทนอยู่บนยอดเขาได้)ส่วนสามีคนที่สามมีหน้าที่เอาเนยที่ทำจากจามรีไปขายที่ตลาด สามีหรือภรรยาที่ถูกจับได้ว่ามีชู้อาจถูกศาลตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายให้กับอีกฝ่ายหนึ่ง โดยตั้งจำนวนค่าเสียหายตามจำนวนปีที่แต่งงานกัน
ชนบทภูฏานมีประเพณีหนึ่งเรียกว่า “การล่ายามวิกาล” (night-hunting)
คือการที่ผู้ชายแอบปีนขึ้นห้องนอนของผู้หญิงที่ตน “ปิ๊ง” ยามดึก หรือแม้แต่ไม่เคยเห็นหน้าผู้หญิงก็ไม่เป็นไร ขอแค่รู้ว่าบ้านนี้มีลูกสาวโสดเป็นใช้ได้ ก่อนจะมีอะไรกัน ฝ่ายหญิงเองก็ต้องยินยอมด้วย ไม่อย่างนั้นฝ่ายชายก็ต้องรีบจ้ำอ้าวก่อนจะเจอข้อหาข่มขืน ซ้ำร้ายถ้าทำผู้หญิงท้องแล้วถูกจับได้ กฎหมายบังคับให้จ่ายค่าทำคลอด และ 20 เปอร์เซ็นต์ของรายได้ทุกเดือน เป็นค่าเลี้ยงดูบุตร หากผู้หญิงไม่ยอมแต่งงานด้วย เรื่องนี้น่าสรรเสริญ เพราะเสรีภาพทางเพศคงไม่มีประโยชน์อันใด หากไร้ความเท่าเทียมกันควบคู่ไปด้วย เมื่อมีอะไรกันแล้ว หากชายหญิงชอบพอกัน ผู้ชายก็เพียงแต่รอ เฉยๆ ในห้องผู้หญิง เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นผู้หญิงก็จะไปบอกพ่อแม่ให้นิมนต์พระ หรือ กอมเช็น(ฆราวาสที่ประกอบพิธีทางศาสนาเป็น)ประจำหมู่บ้านมาทำพิธีแต่งงานให้ เท่านี้ก็เป็นอันเรียบร้อยโรงเรียนภูฏาน"

2.ความสุขมวลรวมของประเทศภูฏาน ค้นหาจากเน็ตเพราะอยากให้พวกเราทั้งหลายเห็นคุณค่า GNH มากกว่า GNP ที่มา
bangkokbiznews

ภูฏาน นับเป็นประเทศที่ยากจน อยู่บริเวณเทือกเขาหิมาลัย รายได้หลักของประเทศมาจากผลผลิตทางการเกษตร ป่าไม้ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำส่งออกไปยังอินเดีย และรายได้จากการท่องเที่ยว แต่ภูฏาน เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก จากการคิดต่าง ไม่วัดการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยมูลค่าผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดทางวัตถุ ที่บอกรายละเอียดว่า ในแต่ละปี สินค้า บริการในประเทศนั้น ถูกผลิตขึ้นในระบบเศรษฐกิจเป็นมูลค่าเท่าใด แต่ ภูฏาน ได้สร้าง ดัชนีตัวใหม่ ซึ่งรู้จักกันทั่วโลก ในชื่อของ Gross National Happiness (GNH) อันมีรากเหง้าจากคำกล่าวของ กษัตริย์ Jigme ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี 1972 ที่ย้ำชัดถึง วิสัยทัศน์ ที่ว่า Gross National Happiness is more important than Gross National Product หมายถึง ความสุขของประชาชนสำคัญกว่าผลผลิตมวลรวมหรือรายได้รวมของประเทศ นั่นเอง จากวันนั้นมา ภูฏาน ไม่หยุดยั้งความพยายามในการเดินตามวิสัยทัศน์ จนกระทั่งวันนี้ ปี 2010 ห้วงเวลาที่กระแสโลกาภิวัตน์ยังคงไหลเชี่ยวกราก วัตถุนิยมยังคงมีมนต์ขลัง เพราะสนองกิเลสมนุษย์ได้ดีเยี่ยม จึงเป็นที่สงสัยกันว่า GNH ของภูฏานจะยังคงต้านทานกระแสเหล่านี้ไปได้นานแค่ไหน และจะกลายพันธุ์หรือไม่อย่างไร จากการที่สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ TMA ได้ร่วมกับ CSR CLUB โครงการทำดีทุกวัน จากดีแทค จัดโปรแกรมไปดูงานและร่วมสัมมนาเรื่อง Gross National Happiness 8000 ที่ประเทศภูฏาน เมื่อเร็วๆ นี้ นั้น พบว่าภูฏานยังเป็นประเทศที่ยังคงเดินหน้านโยบายเศรษฐกิจที่เติบโตอย่าง ยั่งยืน สร้างสมดุลชีวิตให้คนทั้งประเทศ ด้วยรูปธรรม คือ ความสุข GNH มี 4 หลักการใหญ่ หรือ The Four Pillars ได้แก่ 1. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 2.การรักษาสภาพแวดล้อม 3. การส่งเสริมวัฒนธรรมประจำชาติ และการยึดมั่นในหลักธรรมาภิบาล
4 หลักใหญ่นี้ เปรียบเหมือนค่านิยมหลักของประเทศ
โดยเสาหลักที่ 1 นั้น มิได้ปฏิเสธตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจแบบตะวันตกเสียทีเดียว แต่เน้นการเดินทางสายกลาง โดยเอาปัจจัยทางด้านวัฒนธรรมและปัจจัยทางด้านจิตใจของประชาชนมาพิจารณา ประกอบ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจไปอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานของสังคมที่เอาประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยที่ปลูกฝังค่านิยมให้ประชาชนมีชีวิตอย่างพอเพียง
เสาหลักที่ 2 คือ การไม่พัฒนาไปในทิศทางที่ทำลายความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ โดยตั้งเป้าให้มีพื้นที่ป่ามากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่ประเทศ
เสาหลักข้อที่ 3 การรักษา ส่งเสริมวัฒนธรรม โดยรัฐบาลภูฏาน เห็นว่าวัฒนธรรม คือ สิ่งที่คนของเขาต้องรักษาไว้ ทุกวันนี้ ชุดประจำชาติยังคงมีการสวมใส่อย่างแพร่หลายเห็นได้ตามท้องถนนทั่วไป สถาปัตยกรรม สิ่งปลูกสร้าง มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ไม่ว่าจะเป็น DZONG อดีตคือป้อมปราการ แต่วันนี้ รูปแบบเดิมแต่ปรับเป็น วัด และสถานที่ราชการ
เสาหลักที่ 4 การส่งเสริมธรรมาภิบาล นับเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด ในการนำประเทศสู่ความสุขมวลรวมประชาชาติ ทุกวันนี้ ภูฏานมีการปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง เมื่อปี 2008 โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยยังคงมุ่งให้ประชาชนยึดมั่นในศาสนาพุทธ ที่เป็นเครื่องยับยั้งการทำความชั่วนั่นเอง ทุกๆ บ้านของชาวภูฏานจะต้องมีห้องพระเอาไหว้กราบบูชา ขณะที่ระบบบริหารประเทศของเขาก็มีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน แต่เหนืออื่นใด ก็คือ การปลูกฝังเรื่องของจริยธรรม และความพอเพียง เมื่อคนเราโลภน้อยลง มีความสุขง่าย การโกง การคอร์รัปชันย่อมน้อยลงนั่นเอง"