Friday, November 14, 2008
Fw: พร 4 ข้อของท่าน ว.วชิรเมธี
[ใครที่ไม่ได้ไปนั่งฟังการบรรยายธรรมะโดยท่าน ว.วชิรเมธี ท่านได้ให้พร 4 ข้อ ดังนี้
1. อย่าเป็นนักจับผิด
คนที่คอยจับผิดคนอื่น แสดงว่า หลงตัวเองว่าเป็นคนดีกว่าคนอื่น ไม่เห็นข้อบกพร่องของตนเอง
" กิเลสฟูท่วมหัว ยังไม่รู้จักตัวอีก "
คนที่ชอบจับผิด จิตใจจะหม่นหมอง ไม่มีโอกาส " จิตประภัสสร " ฉะนั้น จงมองคน มองโลกในแง่ดี
" แม้ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ถ้ามองเป็น ก็เป็นสุข "
2. อย่ามัวแต่คิดริษยา
" แข่งกันดี ไม่ดีสักคน ผลัดกันดี ได้ดีทุกคน "
คนเราต้องมีพรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
คนที่เราริษยาเป็นการส่วนตัว มีชื่อว่า " เจ้ากรรมนายเวร " ถ้าเขาสุข เราจะทุกข์ ฉะนั้น เราต้อง ถอดถอน
ความริษยาออกจากใจเรา เพราะไฟริษยา เป็น " ไฟสุมขอน " ( ไฟเย็น) เราริษยา 1 คน เราก็มีทุกข์ 1 ก้อน
เราสามารถถอดถอนความริษยาออกจากใจเราโดยใช้วิธี " แผ่เมตตา " หรือ ซื้อโคมมา แล้วเขียนชื่อคนที่เราริษยา แล้วปล่อยให้ลอยไป
3. อย่าเสียเวลากับความหลัง
90% ของคนที่ทุกข์ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ " ปล่อยไม่ลง ปลงไม่เป็น "
มนุษย์ที่สลัดความหลังไม่ออก เหมือนมนุษย์ที่เดินขึ้นเขาพร้อมแบกเครื่องเคราต่างๆ ไว้ที่หลังขึ้นไปด้วย
ความทุกข์ที่เกิดขึ้นแล้ว จงปล่อยมันซะ " อย่าปล่อยให้คมมีดแห่งอดีต มากรีดปัจจุบัน "
" อยู่กับปัจจุบันให้เป็น " ให้กายอยู่กับจิต จิตอยู่กับกาย คือมี " สติ " กำกับตลอดเวลา
4. อย่าพังเพราะไม่รู้จักพอ
" ตัณหา " ที่มีปัญหา คือ ความโลภ ความอยากที่ เกินพอดี เหมือนทะเลไม่เคยอิ่มด้วย น้ำ ไฟไม่เคยอิ่มด้วย เชื้อ ธรรมชาติของตัณหา คือ " ยิ่งเติมยิ่งไม่เต็ม "
ทุกอย่าง ต้องดูคุณค่าที่แท้ ไม่ใช่ คุณค่าเทียม เช่น คุณค่าที่แท้ของนาฬิกา คืออะไร คือ ไว้ดูเวลา ไม่ใช่มีไว้ ใส่เพื่อความโก้หรู คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์มือถือ คืออะไร คือไว้สื่อสาร แต่องค์ประกอบอื่นๆ ที่เสริมมาไม่ใช่ คุณค่าที่แท้ของโทรศัพท์
เราต้องถามตัวเองว่า " เกิดมาทำไม " " คุณค่าที่แท้จริงของการเกิดมาเป็นมนุษย์อยู่ตรงไหน" ตามหา " แก่น " ของชีวิตให้เจอ คำว่า "พอดี" คือถ้า "พอ" แล้วจะ"ดี" รู้จัก "พอ" จะมีชีวิตอย่างมีความสุข]
Monday, November 10, 2008
หลานสาวคนโต "พลอย"
สมัยก่อนอาจันทร์ใช้สิทธิ์วันหยุดพักร้อน รู้ไหมอาจันทร์ทำอะไร พาพลอยนั่งรถไฟไปโรงเรียน ตอนนั้นพลอยอยู่ชั้นอนุบาลใส่กระโปรงแดง อาจันทร์เอากล้องถ่ายรูปไปด้วย ก็ถ่ายรูปเดี่ยว รูปหมู่ พลอยมีเพื่อนวิ่งตามเยอะมาก ถ่ายกันจนหมดม้วนได้รูป 36-38รูปเลย พอพลอยเข้าเรียน อาจันทร์ก็เอาหนังสืออ่านเล่นมาอ่านและนั่งรอที่โรงอาหาร พอพลอยเลิกเรียนเราก็กลับบ้านด้วยกัน น่าจะได้เป็นอาดีเด่นตัวอย่าง ไม่ใช่อะไรสาวโสดไม่มีแฟนเวลาว่างมันเยอะ
พลอยได้เต้นได้รำกับงานโรงเรียนบ่อยมาก เมคอัฟ อาร์ติส (Make up artist ไม่อยากใช้คำว่าช่างแต่งหน้าเดี๋ยวเชย ใช้ภาษาอังกฤษดูหรูดี) ประจำตัวซุปเปอร์สตาร์ดาราพลอยก็อาจันทร์นั่นแหละ แต่เช้าตรู่ประมาณ 6โมง พลอยมาเคาะห้องอาจันทร์ “แต่งหน้าให้หนูหน่อย” ทาปากให้พลอยไม่ต้องกลัวเลอะ เธอนิ่งมาก บางครั้งงานใหญ่หน่อยอาจันทร์ไม่ได้ไปทำงานก็ต้องตามไปแต่งหน้าให้ที่โรงเรียน ว่าไปแล้วเธอมันลูกสาวอาจันทร์ชัดๆเลย
ตอนที่เราไปดูผลการสอบเข้ากัน แล้วพออาจันทร์เห็นชื่อเธอสอบติด อาจันทร์ก็กอดเธอ เธอถามว่า “อะไรเนีย”แบบเขินๆ พลอยไม่เข้าใจ อาจันทร์ไม่ได้เวอร์ ก็อาจันทร์ดีใจไง ยิ่งเห็นนามสกุลที่เขียนว่า “กันทา” ใจมันตื้นตัน นี่แหละครอบครัวเรา
พลอยเป็นเด็กเรียนเก่ง อาจันทร์ดีใจด้วยที่เทอมแรกปีนี้พลอยสอบได้เกรดเอ (A) ทุกวิชา หวังใจว่าพลอยจะตั้งใจเรียนเสมอต้นเสมอปลายต่อไป (ไม่กล้าเอารูป 1 นิ้วที่พลอยถ่ายปีนี้มาลง เอามอร์เตอร์ไซค์รุ่นที่พลอยซื้อปีนี้ลงแทน ยังไงดูเลือกใช้ให้ถูกกาล ว่าจะขับรถยนต์หรือขี่มอร์เตอร์ไซค์ อาจันทร์เป็นห่วง)
Friday, October 31, 2008
Thursday, October 30, 2008
พี่ปลาไปนอร์เวย์กับเอเอฟเอส
Sunday, August 03, 2008
พี่ปลาสอบ เอ เอฟ เอส ได้ ไปนอร์เวย์
ไม่รู้ว่าจะได้ไปหรือเปล่าเพราะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเอง เงิน 3 แสนกว่าบาทไม่ใช่น้อยๆ นะ แต่อย่างน้อยก็สอบได้ผ่านขัอเขียนและสัมภาษณ์ เก็บไว้คุย ได้ไปหรือไม่ได้ไป ไม่ต้องคิดมาก เรียนเก่งอย่างนี้ รอสอบชิงทุนไปเรียนฟรี และได้วุฒิด้วยก็ได้ อาจันทร์เป็นกำลังใจให้
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย
องค์การเอเอฟเอสสากล (American Field Service) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ มหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีประเทศสมาชิกทั่วโลกกว่า 50 ประเทศ มีอาสาสมัครกว่าสามแสนคนซึ่งทำหน้าที่อยู่ในชุมชนโดยมิได้หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น ประกอบด้วยบุคลากรจากหลายสาขาอาชีพ ส่วนหนึ่งเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ ครู-อาจารย์ บ้างก็เป็นที่ปรึกษาให้กับเยาวชนในชุมชนของตน บางส่วนเป็นผู้รณรงค์หาทุนให้กับเยาวชนที่ขาดแคลนเป็นต้น
ในแต่ละปีมีผู้เข้าร่วมโครงการเอเอฟเอสเกือบหนึ่งหมื่นคนจากทั่วโลก การร่วมมือสนับสนุนเงินเข้ากองทุนเพื่อการดำเนินการเหล่านี้ส่วนหนึ่งมาจากผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้องค์การเอเอฟเอสยังได้รับการสนับสนุนในด้านอื่นๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชนนับเป็นมูลค่ามหาศาลจากทั่วโลก
ข้อมูลจาก thaigooview
มูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (เอเอฟเอส ประเทศไทย) ได้ดำเนินการร่วมกับ
เอเอฟเอสโลก และประเทศสมาชิกจำนวนกว่า 50 ประเทศ จัดโครงการเพื่อการเรียนรู้ด้านภาษาและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยมุ่งหวังในการสร้างความเข้าใจอันดีและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขระหว่างมวลมนุษยชาติและเป็นการพัฒนาทักษะค่านิยมส่วนบุคคล ตลอดจนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเยาวชน จนสามารถปรับตนเองให้อยู่ร่วมกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างในหลาย ๆ ด้านได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ เยาวชนที่เป็นคนดีมีคุณสมบัติและความสามารถเหมาะสมตามเกณฑ์และมาตรฐานของเอเอฟเอส จะได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนของเยาวชนไทยไปศึกษาและพำนักกับครอบครัวอุปถัมภ์ในต่างประเทศ ระยะเวลาประมาณ 1 ปีการศึกษา เปิดรับสมัครเพื่อคัดเลือกเยาวชนไทย รุ่นที่ 48 กำหนดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2551
ลักษณะโครงการ
1.ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ และเข้าค่ายเตรียมความพร้อมในประเทศก่อนเดินทางอย่างน้อย 3 ครั้ง
หลังเดินทางกลับอีก 1 ครั้ง และในต่างประเทศอีกประมาณ 3 ครั้ง
2.ส่งนักเรียนสู่ประเทศสมาชิกเกือบทั่วโลก ทั้งในทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ออสเตรเลียและเอเชีย อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แคนาดา เยอรมนี เบลเยียม ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก รัสเซีย บราซิล ชิลี อาร์เจนตินา และประเทศอื่น ๆ
3.พำนักกับครอบครัวอุปถัมภ์ที่จัดสรรโดยเอเอฟเอสประเทศอุปถัมภ์
4.เรียนรู้ภาษาและร่วมกิจกรรมในโรงเรียนอุปถัมภ์เสมือนเป็นนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาคนหนึ่งของโรงเรียน
5.เรียนรู้และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชน และร่วมทัศนศึกษาตามโอกาส
6.เป็นตัวแทนเยาวชนไทยนำวัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของไทยไปเผยแพร่ต่อครอบครัว โรงเรียน และชุมชนในประเทศอุปถัมภ์
7.เข้าร่วมโครงการระยะเวลาประมาณ 9-11 เดือน ขึ้นอยู่กับประเทศอุปถัมภ์เป็นผู้กำหนด
8.สามารถเทียบชั้นเรียนได้โดยจะต้องนำผลการเรียนหรือผลการประเมินจากโรงเรียนอุปถัมภ์มาดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของโรงเรียนที่นักเรียนสังกัด
9.ปฏิบัติตามกฎระเบียบของเอเอฟเอสทุกประการ
10.ได้รับประกาศนียบัตรของเอเอฟเอส ประเทศไทย เมื่อเสร็จสิ้นโครงการ
วิธีการสอบคัดเลือก
ในการดำเนินการสอบคัดเลือก มูลนิธิกำหนดให้ดำเนินการเป็น 2 ขั้นตอน คือ การสอบข้อเขียนและการสอบสัมภาษณ์
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.สัญชาติไทย
2.ต้องเกิดระหว่าง 30 มิถุนายน 2534 ถึง 31 ธันวาคม 2536
3.กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3-4-5 หรือเทียบเท่า และต้องกำลังศึกษาอยู่ในสถานศึกษาในประเทศไทยที่กระทรวงศึกษาธิการรับรองวิทยฐานะ ทั้งขณะสมัครและขณะอยู่ในโครงการ
4.ต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนไปต่างประเทศที่มีระยะเวลามากกว่า 6 เดือน
5.เป็นผู้มีความประพฤติดี
6.ต้องเป็นผู้ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวทั้งทางร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นโรคติดต่อหรือเป็นพาหะของโรคใด ๆ ที่จะเป็นอุปสรรคในการเข้าร่วมโครงการ เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ ไทรอยด์ เบาหวาน เป็นต้น รวมทั้งเป็นผู้มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของประเทศอุปถัมภ์ ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งต้องได้รับการพิจารณาตัดสินเด็ดขาดโดยแพทย์ที่มูลนิธิมอบหมาย
7.มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมสุดท้าย (GPA) ไม่ต่ำกว่า 2.30
หลักฐานในการสมัคร/ค่าสมัคร
1.ใบสมัครที่ติดรูปถ่ายและกรอกข้อความสมบูรณ์ พร้อมลายเซ็นผู้สมัครและผู้ปกครอง
2.รูปถ่ายหน้าตรง สีหรือขาวดำ ใส่ชุดนักเรียนระดับชั้นปัจจุบัน ไม่สวมหมวก ไม่สวมแว่นดำ ขนาด 1 นิ้ว
(ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน) จำนวน 2 รูป
3.ค่าสมัครสอบ 200 บาท
หมายเหตุ
1.นักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ณ ประเทศอาร์เจนตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี คอสตาริกา โคลอมเบีย เวเนซูเอลา กัวเตมาลา ปานามา ปารากวัย เปรู โดมินิกา ฮอนดูรัส เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ตุรกี อียิปต์ มาเลเซีย และประเทศอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในข้อ 2-4 ต้องชำระเงินบริจาคสมทบทุน จำนวน 270,000 บาท (สองแสนเจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
2.นักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ณ ประเทศเบลเยียม (ทั้งเขตพื้นที่ที่สื่อสารด้วยภาษาฝรั่งเศส และภาษาดัทช์) เดนมาร์ก สเปน ฟินแลนด์ ฮังการี เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส รัสเซีย จีน เช็กรีพับลิค สโลวาเกีย ลัตเวีย และสวีเดน ต้องชำระเงินบริจาคสมทบทุน จำนวน 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน)
3.นักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ณ ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และไอซ์แลนด์ ต้องชำระเงินบริจาคสมทบทุน จำนวน 330,000 บาท (สามแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
4.นักเรียนที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการ ณ ประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา ต้องชำระเงินบริจาคสมทบทุน จำนวน 360,000 บาท (สามแสนหกหมื่นบาทถ้วน)
5.มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย สงวนสิทธิ์ที่จะไม่คืนเงินบริจาคสมทบทุนที่ได้รับชำระมาแล้ว เว้นแต่ในกรณีที่ไม่อาจหาครอบครัวและโรงเรียนอุปถัมภ์ให้ได้ มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย จึงจะคืนเงินบริจาคสมทบทุนที่ได้รับชำระมาแล้วทั้งหมด
6.มูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย สงวนสิทธิ์ในการปรับอัตราเงินบริจาคสมทบทุนตามความเหมาะสม หากมีปัจจัยภายนอกมาทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสูงขึ้นมาก
ทุนการศึกษาเป็น 3 ประเภทดังนี้
1.ทุนการศึกษาจากบริษัท หน่วยงาน หรือองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเจ้าของทุนจะจ่ายเงินบริจาคสมทบทุนเต็มจำนวนให้กับมูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทยโดยตรง ผู้มีสิทธิ์ขอทุนประเภทนี้ ต้องเป็นบุตร-ธิดาของเจ้าหน้าที่ หรือพนักงานในหน่วยงานหรือบริษัทของเจ้าของทุน และ/หรือมีคุณสมบัติตามที่เจ้าของทุนกำหนด และเข้าร่วมโครงการในประเทศอุปถัมภ์ที่เจ้าของทุนและมูลนิธิกำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดจาก “ระเบียบการขอรับทุน Corporate Scholarship Program (CSP)”
2.ทุนการศึกษาของมูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย เป็นทุนเต็มจำนวนเงินบริจาคสมทบทุนของแต่ละประเทศ เพื่อสนับสนุนนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ผู้มีสิทธิ์ขอรับทุน คือ ผู้ที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย มีรายได้รวมกันแล้วไม่เกิน 25,000 บาทต่อเดือน ผู้ที่สมัครขอทุนนี้ไม่มีสิทธิ์เลือกประเทศ และจะต้องเข้าร่วมโครงการในประเทศอุปถัมภ์ที่มูลนิธิกำหนดให้เท่านั้น
3.ทุนสำหรับนักเรียนไทยมุสลิม มี 2 ประเภท คือ ทุน AFS Youth Exchange and Study เป็นทุนเต็มจำนวนจากรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา และทุน US Embassy เป็นทุนเต็มจำนวนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่
1.ครูผู้ประสานงานเอเอฟเอสโรงเรียน (กลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ งานแนะแนว และ/หรือ
งานประชาสัมพันธ์โรงเรียน)
2.เอเอฟเอสเขต/จังหวัด หรือศูนย์ประสานงานรับสมัครและสอบคัดเลือกเอเอฟเอสในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
3.ฝ่ายพัฒนาอาสาสมัคร สำนักงานมูลนิธิเอเอฟเอส ประเทศไทย เลขที่ 68/156-157 ซอยประชาชื่น-นนทบุรี 9 ถนนประชาชื่น ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 โทรศัพท์หมายเลข 0-2980-1002 ถึง 4 ต่อ 502 ถึง 507 ระหว่างเวลา 10.00–12.00 น. หรือ 13.00–17.00 น. วันจันทร์–ศุกร์ เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
4.Website : www.afsthailand.org มูลนิธิการศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (เอเอฟเอส ประเทศไทย) โทร.0-2574-6197-9, 0-2980-1002-4
Sunday, July 27, 2008
Saturday, July 05, 2008
Friday, June 20, 2008
เยี่ยมบ้านเมืองไทย 2551
ปีนี้ 2551 กลับไปเยี่ยมบ้านเมืองไทย ได้ทำอะไรที่ต้องทำ ดีใจมากหลายอย่าง ได้พาหลานสาวข้างบ้านไปเที่ยวด้วย ที่ชะอำ 1 สัปดาห์เต็ม และก็ 16 วันที่พิษณุโลก กินข้าวเย็นมีความสุขมากที่สุดที่เมืองไทยคือมื้อที่กินหมูกระทะที่ชำอำกับหลานสาวสองคน และก็สามีทีรักกับลูกที่แสนรักอยู่ด้วย เราช่วยกันปิ้งช่วยกันย่าง แล้วก็กินๆๆๆๆ กินเก่งจริงๆ เคยดีใจมากที่สอบเข้าเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐได้ แต่รู้สึกดีใจน้อยกว่าตอนที่รู้ว่าไอ้สวยได้ที่เรียนม.3 ที่พิษณุโลก ดีใจบวกโล่งใจ ดีใจที่พลอยสอบเข้า มน.ได้ พี่น้องได้อยู่ด้วยกัน ใช้ชีวิติร่วมกันแบ่งปันกันฉันท์พี่น้อง อาจันทร์จะทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้ ดูรูปพี่ชาย (เปี๊ยก) ใบขับขี่รถยนต์ อยู่ๆ ก็ฉุนบวกโมโหไร้เหตุผลคิดแต่ว่า “ทำไมมึงรีบตายว่ะ” อยากร้องไห้ เคยรู้สึกว่าตัวเองมีใจที่นิ่งขึ้น แต่จริงๆ แล้วอาจจะไม่ใช่ เพราะจะคิด หรือ หวัง ให้ได้ดั่งใจ ให้หลานเข้าใจ ความปรารถนาดีที่อาจันทร์มีให้ ในฐานะที่เกิดก่อน รู้และเข้าใจโลกมากกว่า ขอบอกว่าไม่ได้คาดหวังให้ใครต้องเป็นอย่างที่อาจันทร์หวัง แต่อยากให้หลานได้ในสิ่งที่ดีในชีวิต เท่าที่เป็นไปได้ เคยบอกว่า ในอานาคตใครจะรู้ ผู้คนอาจจะเรียกหลานคนโตอาจันทร์ว่า “ท่านพลอย”
โรงแรมเจริญศรีฯ ที่อุดรฯ เตียงนอนสุดยอด นอนหลับสบาย ไม่อยากลุก