เมื่อ 29 มีนาคม ได้ข่าวว่า ปังปอนด์ สอบติดสวนกุหลาบ และสวยสอบติดพิษณุโลกพิทยาคม อาจันทร์ก็ดีใจมาก นึกๆ ก็แปลกตอนอาเล็กน้องชายสอบติดสวนกุหลาบ ไม่เห็นอาจันทร์ดีใจเท่ากับปังปอนด์สอบติดสวนกุหลาบ คงเป็นเพราะความรู้สึกของวัยเด็ก กับวัยผู้ใหญ่ การมองโลกที่แตกต่างกันของอาจันทร์ (คนคนเดียวกัน แต่เวลาต่างกัน คนคนนั้นก็ไม่เหมือนกัน คนคนนั้นก็ไม่เหมือนเดิม) ส่วนสวยสอบติดพิษณุโลกพิทยาคม อาจันทร์ก็ดีใจมาก ถ้าให้บอกตรงๆ อาจันทร์ดีใจมากที่สุด สำหรับเรื่องดีๆ ที่เกิดขึ้นกับสวย ลูกสาวเล็กอาจันทร์ ทั้งสองโรงเรียนเป็นโรงเรียนเก่าแก่และมีชื่อเสียงของเมืองไทย ลองมาอ่านประวัติของโรงเรียนทั้งสอง
1. ประวัติโรงเรียนสวนกุหลาบยาวสักหน่อย เรียกได้ว่าประวัติศาสคร์ อ่านได้จากลิงค์ของโรงเรียน
http://www.sk.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=19&Itemid=259
ย้อนหลังไปประมาณเกือบ 200 ปี ก่อนนั้นเมื่อแรกสร้างพระบรมมหาราชวัง ในสมัยรัชกาลที่ 1 บริเวณวังข้างด้านใต้หมด เพียงป้อมอนันตคิรีถนนมหาชัย กำแพงพระราชวังหักตรงไปทางตะวันตกจนถึงป้อมสัตบรรพต ในระหว่าง กำแพงพระบรมมหาราชวังกับวัดพระเชตุพน มีบ้านเสนาบดีและวังเจ้าคั่นอยู่หลายบริเวณ
ครั้นเมื่อถึงรัชกาลที่ 2 จึงมีการขยายเขตพระราชวังออกไป ในพระราชวังด้านใต้มีที่ว่าง โปรดฯให้ทำสวนปลูกต้นกุหลาบสำหรับเก็บดอกใช้ในราชการ จึงเกิดมีสวนกุหลาบขึ้นในพระราชวังตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 เป็นต้นมาและในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดฯให้แบ่งสวนกุหลาบส่วนหนึ่งสร้างคลังศุภรัตน ทำเป็นตึกรูปเก๋งจีน แต่พื้นที่นอกจากสร้างคลังศุภรัตนยังคงเป็นสวนกุหลาบต่อมาอย่างเดิม
ต่อมาในรัชกาลที่ 4 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจริญพระชันษาถึงเวลาจะเสด็จมาประทับอยู่พระราชวังชั้นนอก แต่พระบรมพระชนกนาถมีพระประสงค์ที่จะให้เสด็จประทับอยู่ในที่ใกล้พระองค์ จึงโปรดฯให้จัด ตำหนักพระราชทานเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ในสวนกุหลาบ ตรงตึกคลังศุภรัตน ซึ่งสร้างไว้ในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้เรียกพระตำหนักนี้ว่าพระตำหนักสวนกุหลาบและหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว ก็โปรดฯให้กรมหลวงอดิศรอุดมเดชเสด็จไปประทับอยู่ที่พระ ตำหนักสวนกุหลาบแทนจนออกจากวัง และจากนั้นมาก็ใช้เป็นคลังเก็บของเรื่อยไป.....
2. ประวัติโรงเรียนพิษณุโลกวิทยาคมก็ยาว อ่านเต็มๆได้จากลิงค์ของโรงเรียน
http://www.pp.ac.th/cgi-bin/history.cgi
ประวัติโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมในปี พ.ศ. 2438 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมืองพิษณุโลกได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น มณฑลพิษณุโลก มีท่านเจ้าพระยาสุรสีห์สิทธิศักดิ์ เป็นสมุหเทศาภิบาลคนแรก ได้อาราธนา พระครูอ่อน จากสำนักวัดอนงคาราม จังหวัดธนบุรี(เดิม) มาว่าการพระศาสนาประจำอยู่ ณ วัดนางพญา ท่านพระครูอ่อน มีความสนใจในการศึกษามากจึงได้เริ่มก่อตั้งสำนักศึกษาขึ้นที่ วัดนางพญา ศาลาโรงโขน วัดพระศรีรัตนมหาธาตุบริเวณเชิงสะพานนเรศวรด้านตะวันออกต่อมาพระครูอ่อนได้เลื่อน สมณศักดิ์เป็นพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาล ในปี พ.ศ. 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงได้ทรงจัดตั้ง โรงเรียนขึ้นทั่วพระราชอาณาจักร ทางราชการเห็นว่าสำนักศึกษา ของพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาล มีความเป็นปึกแผ่นดี จึงได้ยกฐานะสำนักศึกษาแห่งนี้ เป็นโรงเรียน มีชื่อว่า “โรงเรียนตัวอย่างประจำมณฑลพิษณุโลก”และสร้างตัวโรงเรียนขึ้นใหม่ บริเวณทางใต้ของศาลาโรงโขนวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เขตติดต่อวัดนางพญา (มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ 3 งาน 80 ตารางวา) โดยมีพระครูโลกเชษฐ์ชินราชบริบาลเป็น “ครูใหญ่คนแรก” จึงนับได้ว่าโรงเรียนมีกำเนิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2442
ระยะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ทางราชการยกเลิก “มณฑล” เป็นเปลี่ยน
“จังหวัด” ชื่อโรงเรียนจึงเปลี่ยนเป็น “โรงเรียนประจำจังหวัดพิษณุโลก” ต่อมากระทรวงศึกษาธิการตั้งชื่อเฉพาะขึ้นใหม่เป็น “โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม” มาจนกระทั่งปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2473-2474 ทางราชการได้สร้างสะพานข้ามแม่น้ำน่าน บริเวณใต้ วัดพระศรีรีตนมหาธาตุ มีชื่อว่า “สะพานนเรศวร” อยู่ตรงหน้าโรงเรียนพอดี โรงเรียนจึงต้องย้าย ครั้งที่ 1 ไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นวัดที่ร้าง “วัดราชคฤห์” ปัจจุบันเป็นบริเวณโรงเรียนจ่าการบุญ และยังต้องยืมศาลาโรงโขนเรียนด้วยเป็นเวลากว่า 33 ปี
ประมาณกลางปี 2475 ทางราชการได้สั่งย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูมูล “พิษณุวิทยายน” ไปอยู่บริเวณ “สระแก้ว” (บริเวณโรงพยาบาลพุทธชินราช) จึงยกอาคารสถานที่ในบริเวณ วังจันทน์ให้เป็นสมบัติของโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมทั้งหมด โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมจึงย้ายครั้งที่ 2 มาตั้งอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบันมานานถึง 67 ปี ดังนั้นในปี พ.ศ. 2542 โรงเรียนก่อตั้งมามี ”อายุครบ 100 ปี” พอดี
Friday, April 03, 2009
Subscribe to:
Posts (Atom)