Saturday, February 27, 2010

วันนี้วันเกิดพี่ชาย

27 กุมภาพันธ์ 2504 ปีฉลู เป็นวันเกิดพี่ชาย "พี่เปี๊ยก" ถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็ อายุ 49ปี พี่ชายเราคนนี้ชีวิตผกผัน โลดโผน ต่างไปจากพี่น้องคนอื่นๆอย่างมาก คิดว่าน่าจะมีส่วนจากการคบเพื่อนที่ไม่ใช่ "บัณฑิต"สักคน ได้นำฟอร์เวร์ดจากเพื่อนที่ได้รับวันนี้ แบบอ่านง่ายได้ไอเดียเพื่อเป็นแนวทางในการคบเพื่อน และปฎิบัติตนให้ได้ชื่อว่าเป็นเพื่อนที่ดี

เพื่อนดีๆคือเพื่อนอย่างไร???

คอยเตือน ยามเพื่อนพลั้ง

คอยฟัง ยามเพื่อนขอ

คอยรอ ยามเพื่อนสาย

คอยพาย ยามเพื่อนพัก

คอยทัก ยามเพื่อนทุกข์

คอยปลุก ยามเพื่อนท้อ

คอยง้อ ยามเพื่อนงอน

คอยสอน ยามเพื่อนผิด

คอยสะกิด ยามเพื่อนเผลอ

คอยเจอ ยามเพื่อนหา

คอยลา ยามเพื่อนกลับ

คอยปรับ ยามเพื่อนเปลี่ยน

คอยเรียน ยามเพื่อนเที่ยว

คอยเคี่ยว ยามเพื่อนเล่น

คอยเย็น ยามเพื่อนร้อน

คอยหอน ยามเพื่อนเห่า

คอยเฝ้า ยามเพื่อนฟุบ

คอยอุบ ยามเพื่อนปิด

คอยคิด ยามเพื่อนถาม

คอยปราม ยามเพื่อนหลง

คอยปลง ยามเพื่อนแกล้ง

คอยแบ่ง ยามเพื่อนหมด

คอยอด ยามเพื่อนทาน

คอยคาน ยามเพื่อนล้ม

คอยชม ยามเพื่อนชนะ

คอยสละ ยามเพื่อนชอบ

Saturday, February 13, 2010

ทำไมดิฉันถึงไม่ขอสัญชาตินอร์เวย์

ได้เขียนเรื่องนี้ในฟอรัมแห่งหนึ่ง คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ เลยนำมาใส่ไว้ในบล็อกทั้งบล็อกไทยและบล็อกนอร์เวย์

"เรื่องนี้น่าสนใจ norsk statsborgerskap ป้าว่าน่าจะระดมความคิดว่า การได้ norsk statsborgerskap สำหรับหญิงไทยที่แต่งงานกับชายชาวนอร์เวย์ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อเป็นข้อสรุปหรือแนวทางในการตัดสินใจว่าจะสมัครขอเป็นพลเมืองของประเทศ นี้ดีไหม คนเราจะตัดสินใจทำอะไรก็ต้องคำนวณก่อน มาใครจะบวกลบคูณหาร ถอดสแควร์รูท เชิญค่ะ เพื่อเป็นประโยชน์ กับผู้อ่าน ผู้ที่อยู่ระหว่างตัดสินใจ..... "

"ป้าก็เลยขอแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูล เมื่ออ่านแล้วอาจมองต่างมุมออกไป ก็โต้แย้งได้ หรือมีข้อมูลเพิ่มเติมก็เสริมได้นะคะ จะได้มีข้มูลที่มีประโยชน์เพิ่มมากขึ้น

ข้อดี
ข้อดีของการสละสัญชาติไทยคือ ทำให้สามีภรรยาเป็นบุคคลสัญชาติเดียวกันทั้งครอบครัว และคุณได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฏหมายของประเทศของคู่สมรส เช่นสามารถทำพาสปอร์ตของประเทศนั้นๆ ได้ และได้สิทธิในการตรวจลงตราวีซ่าในบางประเทศ ตามเงื่อนไขที่รัฐบาลทำไว้

1.ทำให้สามีภรรยาเป็นบุคคลสัญชาติเดียวกันทั้งครอบครัว ข้อนี้ไม่นับหรือถือว่าเป็นข้อดีสำหรับป้า

2.คุณได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฏหมายของประเทศของคู่สมรส ข้อนี้ป้าเห็นว่าถึงไม่เปลี่ยนสัญชาติป้าก็ได้สิทธิประโยชน์จากรัฐทุกเรื่องเหมือนกัน/เท่าเทียม เพียงแต่ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งใหญ่ ซึ่งป้าก็ไม่ถือเป็นเรื่องสำคัญมากนัก
I denne sammenheng framhever jeg at innehavere av bosettingstillatelse oppnår rettigheter som langt på vei likestiller dem med norske statsborgere.

Jeg er medlem i folketrygden, og jeg får like rettigheter som norske statsborgere.
Jeg har også arbeidstillatelse og jeg får rett til å arbeide i Norge.
Jeg har de fleste rettigheter som norske statsborgere.

Det er kun Eksempel på unntak er stemmerett ved stortingsvalg.
(En av de sentrale rettighetene som er forbeholdt norske statsborgere, er retten til...å stemme ved valg til Stortinget, samt retten og plikten til å stille til valg som stortingsrepresentant. )


3.สามารถทำพาสปอร์ตของประเทศนั้นๆ ได้ และได้สิทธิในการตรวจลงตราวีซ่า ข้อนี้ป้าว่า คงไม่มีความจำเป็นนัก เพราะป้ามีวีซ่านอร์เวย์ จะเดินทางไปเที่ยวในประเทศไหนในแถบยุโรปส่วนใหญ่ แล้วไม่ต้องขอวีซ่าอีก ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เมื่อหลายปีที่แล้วเคยลองเช็คว่าประเทศใดในยุโรปที่ป้าต้องขอวีซ่า ก็มีอังกฤษ กับ สวิส แต่ตอนนี้เข้าใจว่า ไม่ต้องขอวีซ่าแล้ว หรือเปล่า? ขี้เกียจเช็คอย่างจริงจังเ รื่องนี้ป้าไม่นับ ไม่ได้ให้ความสำคัญอะไร ลองคิดในทางกลับกัน ตัวอย่างเช่น ประเทศรัสเซีย สัญชาติไทยไม่ต้องขอวีซ่าสามารถพำนักได้ 30 วัน แต่สัญชาตินอร์เวย์ต้องขอวีซ่า
(Både nordmenn og utenlandske borgere med oppholdstillatelse i Norge får enklere adgang til Sveits når landet blir med i Schengen-samarbeidet fra 12. desember...)

ข้อเสีย
ตามกฏหมายสัญชาติของบางประเทศ ไม่ยินยอมให้คุณถือสองสัญชาติ ดังนั้นคุณต้องทำเรื่องสละสัญชาติไทยก่อน เพื่อดำเนินการแปลงสัญชาติตามคู่สมรส แต่หลายประเทศไม่มีข้อห้ามเรื่องการถือสองสัญชาติ ดังนั้นคุณก็ยังคงสัญชาติไทยไว้ได้ ไม่ต้องทำเรื่องขอสละสัญชาติแต่อย่างใด

การสูญเสียสัญชาติไทยนั้น จะมีผลก็ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ดังนั้นสถานภาพของคุณก็จะกลายเป็น คนต่างด้าว ในประเทศไทย ซึ่งจะมีผลดังนี้คือ
1.กระทรวงมหาดไทยจะคัดรายชื่อคุณออกจากฐานทะเบียนราษฏร์ คุณก็จะไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่สามารถทำบัตรประชาชน ใบขับขี่ไทย พาสปอร์ตไทยอีกต่อไป

2.เวลาคุณเดินทางเข้าประเทศไทย คุณต้องทำตามข้อกำหนดเรื่องวีซ่าที่ไทยมีกับประเทศที่คุณถือสัญชาติเขา เช่น ต้องขอวีซ่าท่องเที่ยวถ้าจะอยู่เกินกำหนด ฯลฯ คุณไม่สามารถอยู่ในประเทศไทยได้ทีละนานๆ ตามใจฉันอีกต่อไป

3.หากคุณไปตกทุกข์ได้ยากในต่างแดน คุณไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ เพราะคุณไม่ใช่คนไทยแล้ว คุณต้องไปขอความช่วยเหลือ จากสถานกงสุลของประเทศที่คุณถือสัญชาติเขาเท่านั้น

4.คุณไม่มีสิทธิในออกเสียงการเลือกตั้ง หรือกิจกรรมทางการเมืองทุกอย่าง

5.การประกอบอาชีพอิสระในประเทศไทย มีข้อจำกัดว่าคนต่างด้าวทำอะไรได้แค่ไหน เมื่อคุณเป็น คนต่างด้าว แล้ว คุณก็จะถูกจำกัดสิทธิเรื่องนี้ด้วย ดูรายละเอียดจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ปี 2551

6.การถือครองที่ดิน ต้องเป็นไปตามประมวลกฏหมายที่ดิน ซึ่งกำหนดว่า คนต่างด้าวที่ต้องการถือครองที่ดินในประเทศไทย จะต้องนำเงินมาลงทุนในไทย ไม่ต่ำกว่าสี่สิบล้านบาท และต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงจะสามารถถือครองที่ดินเพื่ออยู่อาศัยได้ไม่เกินหนึ่งไร่ หากคุณได้รับมรดกเป็นบ้านหรือที่ดิน คุณไม่สามารถถือครองได้ ต้องขายออกไปภายในหนึ่งปี

7.การถือครองอาคารชุด ต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติอาคารชุด

8.นอกจากนั้นสิทธิและหน้าที่ของคนต่างด้าวในเรื่องอื่นๆ ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฏหมาย

อ่านต่อได้จาก ลิงค์ หากคุณไปตกทุกข์ได้ยากในต่างแดน คุณไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ เพราะคุณไม่ใช่คนไทยแล้ว คุณต้องไปขอความช่วยเหลือ จากสถานกงสุลของประเทศที่คุณถือสัญชาติเขาเท่านั้น ข้อนี้อาจถือเป็นข้อดี เพราะถ้ามองว่ารัฐบาลนอร์เวย์ให้ความช่วยเหลือคนของเขาดีกว่ารัฐบาลไทย แต่ป้าว่าไม่แน่นะ เรื่องนี้ต้องเข้าไปอ่านกฏหมายระหว่างประเทศ เปรียบเทียบนโยบายการให้ความช่วยเหลือ รายละเอียดต่างๆ

อื่นๆ
ป้าย้ายมาอยู่นอร์เวย์อายุ 34ปีแล้ว* ความผูกพันธ์ ความสำนึกในความเป็นไทยค่อนข้างสูง และตอนนี้ก็ยังไม่แก่มาก เลยไม่ได้คิดเรื่อง ถ้าแก่แล้วไปอยู่เมืองไทยใครจะดูแล นึกแต่เพียงโอกาสที่ยังยึดติดกับบ้านเกิดเมืองนอนได้ ก็คือนอกจากมีเชื้อชาติไทยแล้ว ก็ยังคงถือสัญชาติไทยอยู่ ถึงแม้จะต้องอยู่ต่างแดนที่หนาวเหน็บ เพราะมีหน้าที่ที่สำคัญทีสุดที่ต้องทำให้ลุล่วง "หน้าที่แม่" ป้าคิดเล่นๆ อยากกลับไปตายเมืองไทย ไม่อยากนอนตายหนาวที่นอร์เวย์ ไหนๆ ตอนเป็นเป็นก็ทนหนาวมานานแล้ว ตอนตายไม่อยากหนาวอีก เป็นไงป้าจันทร์แกแอสแตรคมากๆ แต่ก็มีนัยยะสำคัญอยู่ เรื่องจิตวิญญาณเชียวนะ (*ในกรณีเด็กเล็กๆ ที่อายุน้อยกว่า 10ปี ลงไป น่าจะมีความผูกพันธ์ต่อบ้านเกิดน้อยไปด้วย บางคนไม่สามารถพูดไทยได้แล้ว และถูกหล่อหลอมด้วยสังคมสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ได้รับ)

ป้าเดินทางกลับเมืองไทยทุกปี ปีนี้จะกลับไปอยู่ 2เดือน (ซื้อตั๋วแล้ว) จะเดินทางออกนอกประเทศก็ต้องเอาหนังสือเดินทางไปต่ออายุ ทุก 2ปี ปีที่แล้วไม่ต้องต่อ ปีนี้ต้องต่อ ยังไม่เคยต้องเสียค่าธรรมเนียม ป้าลองหาข้อมูลล่าสุดค่าธรรมเนียมจากเว็บยูดีไอ ในกรณีของป้า มันไม่ตรงและไม่ชัดเจน วันนี้ป้าเลยโทรไปถามเพื่อนว่าต่ออายุเสียค่าธรรมเนียมหรือเปล่า เพื่อนป้าต่อเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วบอกว่าไม่เสีย (ตอนป้าต่ออายุวีซ่าถาวร ยื่นเรื่องไม่เห็นต้องทำอะไรมาก แค่กรอกใบสมัคร เจ้าหน้าที่ก็ทำให้ แบบนั่งรอรับได้เลย ส่วนต่ออายุทุก 2ปี เพราะเดินทางกลับเมืองไทย ก็เอาหนังสือเดินทางไปให้เจ้าหน้าที่เช็คดูรายละเอียด ทำเรื่องให้ รอรับได้เลย ไม่ต้องกรอกใบสมัครอะไรด้วย)

ป้าคงไม่กลับไปอยู่เมืองไทยถาวร แต่จะไปอยู่ให้นานที่สุดเท่าที่โอกาสจะเป็นไปได้ในทุกช่วงของชีวิต คิดว่าในขั้นสุดแล้วน่าจะอยู่เมืองไทยได้ 6 เดือน และนอร์เวย์ 6 เดือน เรียกว่าหนีหนาวไปอยู่ไทย พออากาศดีที่นอร์เวย์ก็จะกลับมาอยู่นอร์เวย์ และไม่เสียสิทธิ์เกษียณ ต้องกลับมาเยี่ยมโซเฟีย โซเฟียก็ต้องไปเยี่ยมแม่ที่เมืองไทย กรณีที่ป้ายังถือสัญชาติไทย น่าจะทำเรื่องขอวีซ่าให้สามีและลูกอยู่เมืองไทยนานๆ ได้ง่ายขึ้น (ไม่ได้หาข้อมูลรายละเอียด แต่ตามหลักสามัญสำนึก ต้องเป็นอย่างนั้น)

กรณีถ้าไม่อาศัยอยู่ที่นอร์เวย์ เกิน 2 ปี โดยไม่ทำเรื่องแจ้งรัฐบาลนอร์เวย์ ถือว่าวีซ่าถาวรขาด และหมดสิทธิประโยชน์อื่นๆ ก็คงไม่ใช่สาระที่จะเอามานับ เพราะว่าเรารู้กฏเกณฑ์ ก็ต้องหลีกเลี่ยงไม่ทำผิดกฏ แล้วจะเสียผลประโยชน์ แต่สังเกตุโอกาสเป็นไปได้ที่จะไปอยู่เมืองไทยนาน 2ปี แค่ทำเรื่องยื่นแจ้งรัฐบาลนอร์เวย์

เพื่อนป้าคนหนึ่งมาอยู่นอร์เวย์ก่อนป้า 1ปี แล้วลืมไปต่อวีซ่าถาวร ปรากฏว่า เธอต้องเริ่มต้นนับใหม่ เพราะฉะนั้น อ ย่ า ลื ม

เมื่อตอนโซเฟียเกิด ป้าจะทำเรื่องถือสัญชาติไทยให้ ตอนนั้น รัฐบาลนอร์เวย์ยังอนุญาตให้ถือสองสัญชาติได้ แต่พ่อโซเฟียไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลเรื่อง หากโซเฟียไปตกทุกข์ได้ยากในต่างแดน มีปัญหาในประเทศที่สาม ใครจะให้ความช่วยเหลือโซเฟีย เพราะถือทั้ง 2สัญชาติ ป้าก็ดูเรื่องกระดาษ และมีสอบถามเลขาทูตที่ออสโล ถ้าจะทำต้องให้พ่อเซ็นรับรอง ถ้าพ่อไม่เซ็นทางสถานทูตทำให้ไม่ได้ ก็เลยต้องจบเรื่องไว้แค่นั้น ถ้าจำไม่ผิดเมื่อปี 2005 รัฐบาลนอร์เวย์ออกกฏหมายห้ามถือสองสัญชาติ เรื่องก็เลยจบสนิท

เขียนซะยาวเลย จริงๆ แล้ว บางส่วนเป็นการคัดลอกข้อมูลเพื่อให้มีความน่าเชื่อถืออ้างอิงได้ หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่าน อย่าลืมกฏหมายมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เพราะฉะนั้นต้องมีข้อมูลที่ทันสมัย ทำให้นึกกลัวว่าข้อมูลที่คัดลอกมาจะไม่ทันสมัย (นิติกรเขียนเมื่อ 02/03/2009)"